วิธีการเขียนข่าวให้มีความน่าสนใจ หรืออ่านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องทางภาษาแล้ว ยังต้องมีรูปประโยคที่กระชับน่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้อ่านนั้นเบื่อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งต้องหมั่นฝึกฝนการอ่าน และการเขียนให้ช่ำชอง เพื่อนำไปใช้ในกรองข่าว สรุปใจความสำคัญต่าง ๆ และนำมาเรียบเรียงให้อ่านง่าย ได้ใจความโดยคำหนึงถึงหลักการ 5W (What,Who,Where,When,Why)
อะไรคือหลักการของ 5W
1.What’s happening? “เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น”
2.Who is involved? “ใครเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง”
3.Where is this happening? “เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน สถานที่เกิดเหตุ”
4.When is it happening? “เกิดขึ้นเมื่อไหร่ วัน เดือน ปี”
5.Why is it happening? “อะไรคือสาเหตุ หรือต้นตอของปัญหา”
เมื่อเรารู้ถึงหลักการทั้ง 5W แล้วสิ่งต่อมาที่เราต้องให้ความสำคัญอันดับแรกก็คือ “หัวข้อข่าว” การเขียนหัวข้อข่าวจำเป็นต้องมีลูกเล่นและเทคนิค การเขียนหัวข้อที่ยาวเกินไปจะทำให้ผู้อ่านนั้นหมดความสนใจ สั้นเกินไปก็ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอกับผู้อ่าน ดังนั้นจึงควรเขียนให้สั้น กระชับ และได้ใจความเพื่อสร้างแรงดึงดูดกับผู้อ่านให้สนใจข่าวของเรา
สิ่งถัดมาคือบทนำ เป็นข้อความเปิดเรื่องที่สำคัญ ควรจะมีคุณสมบัติที่สร้างแรงดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจและต้องการที่จะอ่านบทความต่อไปจนจบ โดยจะต้องมีเนื้อหาที่คมชัด อ่านได้ใจความเร็ว แต่ยังคงไว้ด้วยรูปประโยคที่สบายตา และถูกต้องตามหลักภาษา และที่สำคัญไม่ควรมีความยาวเกินไป รวมถึงต้องนำหลัก 5W มาใช้ในบทนำดังกล่าว
จากนั้นเราจะต้องเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อข่าว โดยเนื้อข่าวสำคัญ ๆ ควรจะไว้จุดบนสุดของบทความ โดยจะค่อย ๆ ไล่ลำดับตามเนื้อหามาเรื่อย ๆ จนถึงด้านล่างสุดของบทความที่จะเป็นส่วนท่ามีรายละเอียดสำคัญน้อยที่สุด โดยไม่จำเป็นจะต้องใจความสำคัญของข่าวในส่วนบนของบทความทั้งหมด เมื่อจบบทนำแล้วที่ไม่มีความยาวมาก ก็สามารถเริ่มเนื้อข่าวได้เลย และในแต่ละรูปประโยคควรจะขึ้นย่อหน้าใหม่ เพื่อความสวยงามของบทความ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างสบายตา
การอ้างอิงคำพูดของบุคคุลก็มีความสำคัญเช่นกัน อย่าลืมเขียนชื่อเจ้าของคำพูดก่อนเริ่มเนื้อหาทุกครั้งอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “และตามด้วยเนื้อหาคำพูดที่ถูกกล่าวขึ้นมาโดยผู้พูด” เป็นต้น ถ้าจะให้ดีควรจะต้องใช้ย่อหน้าให้เหมาะสม เช่นการใช้ในตำแหน่งย่อหน้าที่ 5 และไม่มากกว่านี้น จะตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยพิ่มน้ำหนักให้กับบทความให้สมดุล รวมถึงการใช้คำ “กล่าวว่า” แทนที่คำพ้องอื่น ๆ สำหรับคำพูดที่ออกมาจากปากโดยตรง เพราะสื่อสารเข้าใจได้มากกว่าคำอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด