ซึ่งการเขียนบทความเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เพราะหลักการเขียนบทความทุกคนมีติดตัวมาตลอด การเขียนบทความก็เหมือนการเขียนเรียงความ ในแต่ละหัวข้อที่ได้รับมา เราต้องตีโจทย์หัวข้อนั้นให้ออก เพื่อจะได้มีเรื่องในการเขียนบทความนั้น และต้องไม่ซ้ำคนอื่นให้มาก ขอแค่มีความคิดเป็นของตัวเอง คุณก็จะสามารถเขียนบทความที่ดี และมีความหมายออกมาข้องจองกับเรื่องมากที่สุด และเป็นบทความที่ดี

เขียนบทความยังไงให้หน้าอ่าน และมีเรื่องที่หน้าสนใจ

            โดยบทความหนึ่งจะประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง บทนำ เนื้อหาของเรื่องที่เขียน  สรุปเรื่อง แหล่งอ้างอิงที่มาของเรื่อง(ถ้าหากมี) เพราะชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญต่อการเขียนเรื่องนั้นให้ผู้อ่านได้รู้ ว่าคุณกำลังจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไร บทนำจะเป็นตัวเริ่มเรื่องให้คนที่อ่านรู้เนื้อหาของเรื่องประมานหนึ่ง  เนื้อหาของเรื่องจะเป็นสิ่งที่เล่าประวัติของเรื่องที่กำลังเขียนอยู่ในแบบละเอียด และแบ่งการย่อหน้าอย่างเหมาะสมในการเขียน บทสรุปจะอยู่ในส่วนสุดท้ายของเรื่อง เป็นการสรุปบทความที่เขียนมาว่ามีความหมายอย่างไรต่อเรื่อง แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีให้เห็น เพราะเรื่องที่นำมาเขียนบางที่มีแหล่งที่มาจากหนังสือ แต่ไม่ค่อยออกนามให้ผู้อ่านได้รู้จึงไม่ค่อยเห็นในส่วนมาก  เพราะการมีชื่อเรื่อง บทนำ เนื้อหา สรุป เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการดำเนินเรื่องของบทความ ที่ต้องมีในการเขียนบทความหนึ่ง

ขั้นตอนการเขียนบทความมีดังนี้

  • เลือกเรื่องที่เขียน คือหาเรื่องที่เป็นความรู้มาเขียน หรือประเด็นที่กำลังเป็นที่ติดตามของผู้อ่าน
  • วางแผนเรื่องที่เขียน ต้องวางหลักในการเขียนว่าจะนำจุดไหนของเรื่องมานำเสนอ
  • เนื้อหาของเรื่อง จะต้องเป็นเนื้อหาที่ผู้อ่านได้ความรู้ และเข้าใจง่ายในบทความนั้น
  • สรุปเนื้อหา ต้องสรุปเน้นหาที่สำคัญของบทความออกมาให้ผู้อ่านไม่สับสน
  • การตรวจและแก้ไขเรื่อง นำบทความไปตรวจหาข้อผิดพลาด เช่น คำผิด หรือการจัดช่องไฟในการแบ่งวรรคนั้นของบทความ
  • นำบทความไปเผยแพร่ คือบทความที่ได้รับการตรวจออกมาแล้วว่าสามารถเผยแพร่ได้ และเป็นบทความที่ดีต่อผู้อ่าน และทำความเข้าใจง่าย

ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้บทความออกมาดีมีคุณภาพ และน่าอ่านมาขึ้นซึ่งได้เป็นการเรียนรู้ ของผู้ที่จะเริ่มเขียนบทความเบื้องต้นได้ หลักการต่างๆในการเขียนบทความมีไม่เยอะ แต่นำเสนอเรื่องเขียนออกมาเป็นสิ่งสำคัญ ให้ผู้ที่อ่านเข้าใจง่าย และใจเนื้อหาของเรื่องแบบไม่สับสน สามารถนำไปเป็นหลักการเขียนของตนเองได้