มารู้จักความหมายของ อักขราวิสุทธิ์ ว่าคืออะไร

อักขราวิสุทธิ์ เป็นระบบตรวจสอบการลอกเลียนบทความทางวิชาการ ถูกพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ โดยเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถส่งไฟล์ตัวอย่างเอกสารเข้าไปตรวจสอบได้ โดยจะต้องเป็นไฟล์ Word หรือ PDF ที่มีขนาดไม่เกิน 200MB เท่านั้น โดยการพัฒนาระบบอักขราวิสุทธิ์เป็นผลงานร่วมกันกับบริษัท อินส์ไปก้า ซึ่งจะใช้ในการตรวจหาบทความที่มีความเหมือนในหลายๆด้านนำมาประมวลให้ผู้ใช้ดูว่ามีส่วนไหนที่ควรตรวจสอบ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ภายในจะมีข้อมูลทางวิชาการ และรายงานวิจัยมากมายที่เก็บเอาไว้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ด้วยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆของไทย การตรวจสอบเอกสารโดยอักขราวิสุทธิ์ สามารถใช้ตรวจได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย อาจเปลี่ยนแปลงไปตามตามคิวที่ขอเข้าใชงาน ถ้ามีผู้ใช้งานเข้ามาเยอะก็จะต้องรอนานหน่อย การตรวจสอบเป็นเพียงแค่ผลอ้างอิงเท่านั้น ผู้ใช้จะยังคงต้องตัดสินใจเองว่าเอกสารนั้นควรได้จัดการอย่างไร นอกจากที่ระบบจะตรวจเอกสารภายในระบบของมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลใน Wikipidia อีกด้วย ถือเป็นแหล่งข้อมูลวิชาการขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าฐานข้อมูลจะมีรองรับในการตรวจสอบเอกสารส่วนใหญ่ ระบบภายในอักขราวิสุทธิ์จะเน้นความเรียบง่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมสิ่งต่างๆได้สะดวก มีผังข้อมูลที่ดูสบายตาและเข้าใจได้ง่าย ปัจจุบันมีการอัพเดตให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และอาจมีการรองรับการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ ในการตรวจสอบข้อมูลจะแสดงรายค่าความคล้ายคลึงระหว่างเอกสารออกมาเป็นเปอร์เซ็น และจะมีแถบสีไฮไลท์จุดที่มีความเหมือนกันให้ผู้ใช้สะดวกในการสังเกต อักขราวิสุทธิ์เปิดให้ใช้ฟรีโดยสามารถติดต่อทางมหาวิทยาลัยเพื่อขอเข้าใช้บริการอักขราวิสุทธิ์ได้ เนื่องจากการใช้งานจำกัดในหน่วยงานหลักที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลง จึงจำเป็นจำต้องใช้อีเมล์ที่ของหน่วยงาน หรือ อีเมล์ของมหาวิทยาลัยในการขอรับไฟล์ที่อักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ ดังนั้นบุคคลธรรมดาจึงต้องสอบถามกับทางมหาลัยโดยตรง อักขราวิสุทธิ์สำหรับมหาลัย และหน่วยงาน ระบบอักขราวิสุทธิ์เป็นระบบที่ใช้งานกันทั่วไปในมหาลัยชั้นนำของประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานทางภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการ เพื่อป้องกันการคัดลอกบทความที่ผิดลิขสิทธิ์ […]

Read more
วิทยานิพนธ์ คืออะไร และมีที่มาอย่างไร
free-articles-zone-01-23

วิทยานิพนธ์ หรือ “Thesis” เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงผลการศึกษาและวิจัย ซึ่งจะต้องถูกเขียนโดยนักศึกษา นักวิชาการ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง โดยในวิทยานิพนธ์จะต้องเขียนอย่างต้องตามหลักวิชาการ เป็นตัววัดที่สำคัญในการจบการศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือ ใช้สำหรับเพิ่มความก้าวหน้าในฐานอาชีพของตนเอง ปัจจุบันนี้ทุกประเทศมีการทำวิทยานิพนธ์กันหมด ในระดับปริญญาเอกเราเรียกวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษกว่า “Disertation” ดังนั้นถ้าเจอคำนี้ผู้อ่านไม่ต้องตกใจไปแต่อย่างลืมว่าในระดับปริญญาโทมีแผนการเรียนอยู่ 3 ชนิด ได้แก่แผน ก ซึ่งเป็นแผนสำหรับผู้ที่ต้องการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว แผน ข 1 สำหรับผู้ที่เรียนพร้อมกับทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข 2 สำหรับผู้ทำสาระนิพนธ์ ถ้าเป็นในมหาวิทยาลัยทั่วไปก็อาจมีการเรียกแบบติดปากว่า โปรเจกต์จบ ซึ่งถ้าไม่ทำส่งก็จะไม่จบนั่นเอง หรือ งานวิจัย ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนมีความหมายเดียวกัน ขั้นตอนในการทำวิทยานิพนธ์ ในการที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง จะต้องมีส่วนประกอบสามสิ่ง ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อความ และส่วนเนื้อความ โดยในส่วนนำคือหน้าปกที่จะประกอบไปด้วยชื่อหัวข้อและอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เขียน จากนั้นจะเป็นหน้าที่การรับรองจากกรรมการที่ตรวจสอบความถูกต้องของวิทยานิพนธ์ ตามด้วยบทคัดย่อ และสารบัญ ซึ่งจะเป็นตัวที่ช่วยโครงสร้างต่างๆ ภายในว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง ถัดมาเป็น “เนื้อความ” มันประกอบไปด้วย บทนำ ตัวเรื่อง และบทสรุป ในส่วนของบทนำจะเป็นส่วนที่ผู้แต่งอธบายว่าเนื้อหาภายในนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร […]

Read more
กฎการเขียนเรียงความ

การเขียนเรียงความ เป็นการที่ผู้เขียนสามารถที่จะนำความคิด และองค์ความรู้ต่างๆ นำมาเรียบเรียงให้เกิดความสะดวกในการอ่าน มีระเบียบ อ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งการจะเขียนเรียงความที่ดีจะต้องคำนึงถึงหลักการที่ถูกต้อง เมื่อรู้ถึงหลักก็สามารถที่จะเขียนเรียงความที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ โดยส่วนประกอบหลักๆของเรียงความมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป คำนำ คำนำ เป็นเนื้อหาส่วนแรกที่ผู้อ่านจะเจอในเรียงความ ดังนั้นการเขียนคำนำที่ดีไม่ควรใช้คำที่เข้าใจยาก และมีใจความที่ยืดยาว ควรใช้ประโยคที่สั้นและได้ใจความ เน้นสาระของเนื้อหาด้านใน ไม่อ้างอิงสิ่งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา และที่สำคัญอย่าเขียนให้มีข้อมูลซ้ำกันกับหน้าสรุปเนื้อหาในท้ายเล่ม วิธีเขียนคำนำให้น่าสนใจคือการนำสุภาษิตมาช่วย หรือ อาจจะใช้สำนวนบางประโยคมาช่วยเปิดเรื่อง เนื้อเรื่อง ถือเป็นส่วนที่สำคัญสุดของเรียงความ เพราะเป็นส่วนของสาระเนื้อหาสำคัญ ประกอบไปด้วย แนวคิด ความรู้ การเขียนเนื้อเรื่องที่ดีนั้น จะต้องวางโครงเรื่องก่อนที่จะเขียน เช่นช่วงต้นเกริ่นเนื้อหาที่อธิบายเรื่องต่างๆ ช่วงกลางสำหรับการทดลอง ช่วงสุดท้ายอาจเป็นผลของการทดลอง เมื่อวางโครงเรื่องเอาไว้จะทำให้เขียนเรื่องได้เป็นระเบียบ และอ่านได้ใจความง่ายยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรคำนึงเป็นสำคัญคือความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าที่ควรจะเชื่อมระหว่างกันเสมอ สรุป เป็นส่วนสุดท้ายของเรียงความ จะเป็นส่วนของผู้แต่งเอาไว้เขียนทิ้งท้ายให้กับผู้อ่าน เช่น ข้อคิดจากเรียงความ คำเตือน การให้กำลังใจ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ผู้แต่งว่าจะเขียนอะไรลงไป มีหลายสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเขียนหัวข้อสรุป อย่างแรกคือไม่ควรเปิดประเด็นใหม่ให้ผู้อ่านสงสัย อย่างที่สองคืออย่าแสดงออกถึงความไม่รู้ด้วยการเขียนข้อมูลที่ไม่เชี่ยวชาญ และสามคือไม่ควรเขียนหัวข้อสรุปยาวเกินไป […]

Read more